กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน กินเยอะแต่น้ำหนักลด!! ก็เป็นปัญหาโลกแตกของคนไซส์เล็กเหมือนกันนะ เพราะไม่ว่าใคร ๆ ก็อยากมีหุ่นดีในแบบตัวเองกันทั้งนั้น แถมอาการกินแล้วไม่อ้วน ก็ยังเป็นปัญหาคอยกวนใจอยู่ด้วยว่า นี่ระบบเผาผลาญเราดีเกินไป หรือ กำลังเสี่ยงเป็นโรคอะไรอยู่กันแน่ Fit.Friend เลยอาสาพาไปหาคำตอบกันให้ชัดๆ
ทำไมบางคน กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน?
คุณคือหนึ่งในคนที่มีคำถามเหล่านี้หรือเปล่า ทำไมเรากินแล้วไม่อ้วนเลย กินไปตั้งเยอะแต่น้ำหนักดันลดซะงั้น? หรือ กินได้ทั้งวันแต่ทำไมไม่อ้วนอยู่ดี?
จริงๆแล้วสาเหตุที่บางคนแนวโน้มเรื่องการเพิ่มหรือรักษาน้ำหนักนั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะซับซ้อน เพราะมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม พฤติกรรม และยังมีปัจจัยร่วมอื่นๆ อีกมากมาย ได้แก่
1. ปัจจัยด้านฮอร์โมน
ความหิวถูกควบคุมโดยฮอร์โมน 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) และ ฮอร์โมนกรีลิน (Ghrelin) โดยฮอร์โมนทั้งสองมีการทำงานที่แตกต่างกัน
- ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) คือ ฮอร์โมนที่มีหน้าที่ “ระงับความอยากอาหาร” เพราะจะคอยส่งสัญญาณไปยังสมองส่วน hypothalamus บอกร่างกายให้รู้ว่าเราอิ่มแล้ว
- ฮอร์โมนกรีลิน (Ghrelin) จะทำหน้าที่ตรงข้ามกัน คือจะ “กระตุ้นความอยากอาหาร” และหากเลปตินน้อย กรีลินก็จะทำงานสูงขึ้น ทำให้กินแล้วไม่รู้สึกอิ่ม
2. พฤติกรรมการทานอาหาร
คนกินช้า เคี้ยวช้า มีแนวโน้มที่จะ “กินอาหารแล้วไม่อ้วน” มากกว่าคนเคี้ยวเร็ว เพราะการเคี้ยวช้าๆ เป็นการเพิ่มเวลาให้สมองสามารถส่งสัญญาณไปบอกร่างกายว่าอิ่มแล้วนั่นเอง
3. พฤติกรรมการนอนหลับ
คนที่นอนหลับดีและเพียงพอในแต่ละคืนจะ มีระดับฮอร์โมนในร่างกายที่ค่อนข้างสมดุล กว่าคนนอนน้อย ขณะเดียวกันคนที่นอนน้อย หรืออดนอนจะส่งผลให้มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และ ฮอร์โมนกรีลิน (Ghrelin) ที่ทำให้อยากอาหารเพิ่มสูงขึ้นด้วย
กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน ระบบเผาผลาญ ดีเกินไปหรือเปล่า?
นอกจากนี้การกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนก็อาจเกี่ยวข้องกับ ความสามารถของระบบเผาผลาญเฉพาะบุคคลด้วย บางคนไม่ได้มีปัญหาสุขภาพอะไรเลย แต่กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนสักที
เพราะระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานสอดคล้องกันเป็นอย่างดี ทั้งระบบย่อยอาหาร ระบบดูดซึมอาหาร การนำไปใช้ รวมไปถึงระบบขับถ่าย
นอกจากนี้ยังอาจรวมไปถึง รูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน ของแต่ละคนด้วย บางคนกินเยอะก็จริง แต่ก็ใช้พลังงานเยอะด้วย เช่น ทำงาน/กิจกรรมที่ต้องออกแรง หรือคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
กินเยอะแต่น้ำหนักลด ผิดปกติไหม?
นอกจากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว บางครั้งการกินเยอะแต่ไม่อ้วน หรือน้ำหนักลดมากเกินไป ก็อาจเป็นสัญญาณที่บอกโรค หรือความผิดปกติบางอย่างในร่างกายได้เหมือนกัน เช่น
1. มีพยาธิ
พยาธิเป็นสิ่งมีชีวิต ประเภทปรสิตที่อยู่ในร่างกายคุณ และจะคอยแย่งอาหารที่คุณทานเข้าไป เลยส่งผลทำให้คุณรู้สึกหิวบ่อยขึ้น และไม่ว่าจะกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน ได้เช่นกัน
2. โรคขาดสารอาหาร
การลดน้ำหนัก หรือการสร้างพฤติกรรมการทานอาหารแบบผิด ๆ ให้ตัวเอง โดยเลือกทานแต่ผักผลไม้ หลีกเลี่ยงแป้งและเนื้อสัตว์ นอกจากจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในการทำไปใช้ และทำให้ไม่ว่าจะกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนขึ้นแล้ว ยังทำให้ร่างกายอ่อนแอ ไม่มีแรงอีกด้วย
3. โรคเบาหวาน
อาการเสี่ยงโรคเบาหวานมีหลากหลายแต่หนึ่งในนั้นก็คือ อาการหิวบ่อย และกินเยอะขึ้น แต่น้ำหนักลดลงอย่างผิดปกติ
4. ไทรอยด์เป็นพิษ
เมื่อระดับฮอร์โมนต่อมไทรอยด์เผาผลาญมากเกินไป ก็อาจส่งผลให้คุณหิวบ่อยขึ้น และ กินเยอะขึ้นแต่ไม่อ้วน และยังอาจส่งผลไปถึงอาการนอนไม่หลับ และท้องเสียง่ายอีกด้วย
สรุป
ทั้งนี้การกินเยอะแต่ไม่อ้วนขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ทั้งด้านร่างกาย ฮอร์โมน และการใช้ชีวิต ไม่ได้เป็นเพียงสัญญาณบอกโรคร้ายเท่านั้น สาว ๆ ไซส์เล็กที่ กินเยอะแต่ไม่อ้วน ก็ไม่ต้องเครียดจนเกินไป แต่อย่างไรก็ตามการกินแล้วอ้วนหรือไม่อ้วนนั้น ไม่สำคัญเท่ากินอย่างไรให้มีสุขภาพดี การกินอาหารที่ดี เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีได้
และอย่าลืมว่าการสร้างหุ่นที่ดีนั้นก็ต้องอาศัย การทานอาหารที่เหมาะสม และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และการออกกำลังที่ถูกต้องและเหมาะสมกับแต่ละบุคคล
การมีเทรนเนอร์ส่วนตัวเป็นผู้ช่วยในการออกกำลังกายจะช่วยให้คุณออกแบบการออกกำลังที่เหมาะสม เข้าใจจุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเอง
และสามารถประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง หรือสร้างหุ่นที่ตรงใจได้เร็ว พร้อมกับมีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย และถ้าคุณกำลังมองเทรนเนอร์ส่วนตัวอยู่ล่ะก็ ทัก Fit.Friend เลย !!
สอบถามรายละเอียดเทรนเนอร์ได้ที่
Add LINE: @fitfriend หรือ https://lin.ee/d9Mvonh