เช็กให้ดี ! คุณทำงานหนักจนมีอาการ ‘ออฟฟิศซินโดรม’ แล้วหรือเปล่า?

ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน ที่กำลังผันตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล อาจทำให้มนุษย์ทำงานหลาย ๆ ต้องทำงานหน้าจอคอมกันมากขึ้น จนเกิดอาการปวดเมื่อยจากการนั่งทำงานนานๆ แต่ไม่แน่ใจว่าอาการแบบนี้คือ โรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) หรือเปล่า และไม่รู้จะแก้อาการยังไงดี วันนี้ Fit.Friend จะชวนคุณมาลองเช็กด้วยเกณฑ์การประเมินเบื้องต้น และแนะนำวิธีการรักษาที่ยั่งยืนด้วยการออกกำลังกายกันครับ

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด ซึ่งเกิดจากการใช้มัดกล้ามเนื้อเดิมๆ ซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานสะสม ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอักเสบ เป็นโรคยอดฮิตของพนักงานออฟฟิศ ส่วนใหญ่จะพบบริเวณ ข้อนิ้ว ข้อมือ คอ บ่า ไหล่ หลัง และศีรษะ

สาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม

เกิดจากไลฟ์สไตล์ในยุคปัจจุบันที่มีการใช้มือถือหรือคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน เช่น

  • การก้มหน้าเล่นมือถือ หรือการนั่งผิดท่า เช่น นั่งไขว่ห้าง นั่งหลังค่อม นั่งทำงานบนเตียง
  • การนั่งทำงาน หรือยืนทำงานในท่าเดิมๆ เป็นระยะเวลานาน
  • อุปกรณ์การทำงานไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะหรือเก้าอี้ทำงานไม่เหมาะกับสรีระร่างกาย
  • สุขภาพร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ การมีความเครียด
ออฟฟิศ ซินโดรม อาการ

อาการแบบไหนมีความเสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ?

หากคุณเริ่มรู้สึกมีอาการปวดเมื่อยตามลำตัว ไม่ว่าจะเป็นบริเวณ ข้อนิ้ว ข้อมือ คอ บ่า ไหล่ หลัง หรือศีรษะอยู่บ่อยครั้ง เป็นระยะเวลานานหลายๆ เดือน อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณเสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ลองมาประเมินกันจากข้อด้านล่างนี้

เกณฑ์การประเมิน ออฟฟิศซินโดรม

  • ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน มักมีอาการปวดบริเวณกว้าง เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก สาเหตุเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การนั่งทำงานในท่าเดิมๆ โดยไม่เปลี่ยนท่าทาง การจ้องหน้าคอมใกล้เกินไป
  • ปวดศีรษะเรื้อรัง สาเหตุเกิดจากความเครียด หรือการที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน
  • ปวดหลังเรื้อรัง สาเหตุเกิดจากการนั่งทำงาน การนั่งผิดท่า  หรือยืนทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ปวดแขน มือชา นิ้วล็อค สาเหตุเกิดจากการจับเมาส์ พิมพ์เอกสารในท่าเดิมๆ เป็นระยะเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทจนเกิดพังผืดยึดจับบริเวณนั้นๆ
  • อาการปวด ตึงที่ขา หรือเหน็บชา สาเหตุเกิดจากการนั่งทำงานนานๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ
เกณฑ์การประเมิน ออฟฟิศซินโดรม

แนวทางการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม

เนื่องจากโรคออฟฟิศซินโดรมมักมีอาการปวด เมื่อย ล้า ชาตามร่างกายอยู่บ่อยครั้ง และมักจะก่อให้เกิดความรู้สึกรำคาญทำให้ต้องหันไปหาวิธีการรักษาเพื่อคลายอาการเจ็บปวด

ปัจจุบันแนวทางการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมนั้นมีหลายวิธีด้วยกัน ได้แก่

  • การนวดแผนไทย
  • การฝังเข็ม ครอบแก้ว การช็อตไฟฟ้า
  • การจัดกระดูก
  • การกินยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การหาหมอกายภาพบำบัด

แต่วิธีที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นเพียงแค่การรักษาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดเท่านั้น ไม่ได้ช่วยให้หายขาดจากโรคออฟฟิศซินโดรม

วิธีป้องกันการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

วิธีการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมที่ดีที่สุดนั้น ต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง มีวิธีการง่ายๆ ดังนี้

  • การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น การปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ทำงานให้พอดีกัน ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา ไม่สูงเกินหรือต่ำเกินไป
  • การปรับสภาพกล้ามเนื้อให้เหมาะสมในการทำงาน เช่น ควรลุกเดิน ขยับร่างกาย และยืดเส้นทุกๆ 1 – 2 ชั่วโมง
  • ฝึกผ่อนคลายความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน
  • การออกกำลังกายให้เหมาะสมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของโรค เช่น การออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อในจุดที่อ่อนแอหรือไม่ค่อยได้ใช้ การยืดเส้นที่ถูกต้องเพื่อลดการตึง หรือบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
ออฟฟิศซินโดรม ออกกําลังกาย

ด้วยวิธีการดังกล่าวนี้สามารถทำให้คุณห่างไกลจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้อย่างแน่นอน เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองอย่างถูกต้อง หากสุขภาพร่างกายแข็งแรงโรคภัยก็จะไม่ถามหา

สรุป

เราควรเช็กอาการโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยเกณฑ์การประเมินเบื้องต้นอยู่เสมอ และไม่ควรปล่อยไว้นานจนเกินไป เพราะอาจทำให้เป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งก่อให้เกิดความน่ารำคาญในชีวิตประจำวัน ส่งผลร้ายกับสุขภาพร่างกาย และบุคลิกภาพของเราในอนาคต ดังนั้นเราควรมีวิธีรับมือป้องกันกับโรคออฟฟิศซินโดรมอย่างถูกต้อง เช่น การออกกำลังกายแก้ออฟฟิศซินโดรม

หากรู้ตัวว่าเริ่มมีอาการของโรคแล้ว แต่ไม่รู้ว่าควรออกกำลังกายแบบไหน หรือรักษาที่ไหน สามารถเรียกใช้ บริการเทรนเนอร์ส่วนตัว จาก Fit.Friend ได้เลยครับ

เราพร้อมส่งเทรนเนอร์เข้าไปช่วยดูแลสุขภาพของคุณถึงที่บ้าน เพราะเทรนเนอร์ของเรานั้นสามารถประเมินอาการและสภาพร่างกายของคุณได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น รวมถึงออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายให้คุณได้อย่างเหมาะสม และไม่เสี่ยงบาดเจ็บเพิ่มเติมจากการออกกำลังกายอีกด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *