จักระทั้ง 7 คืออะไร? ทำไมคนเล่นโยคะ อยากปรับสมดุลร่างกายต้องรู้จัก

จักระทั้ง 7

ในปัจจุบันมีปัจจัยหลายอย่างที่ก่อให้เกิดความเครียดสูงในชีวิตประจำวัน ​ศาสตร์ของการฝึกลมหายใจ ฝึกสมาธิ จึงได้รับความนิยมขึ้นเป็นอย่างมาก หนึ่งในศาสตร์ที่สามารถช่วยฝึกลมหายใจ คลายเครียดได้ ก็คือ “จักระศาสตร์”หรือจักระทั้ง 7 ซึ่งเป็นศาสตร์ที่มีหลักการเดียวกับโยคะ หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้จักกับศาสตร์นี้ บทความนี้เลยจะพาเพื่อนๆ มาแนะนำให้รู้จักว่า “จักระ” คืออะไร?

จักระ คืออะไร?

จักระคือศูนย์รวมของพลังงานภายในร่างกายที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกาย ประกอบไปด้วยตำแหน่งจักระทั้ง 7 จุด เรียงกันเป็นแนวตรงจากบริเวณกลางกระหม่อมถึงเป้ากางเกง นั่นคือรูปของพลังงานจักระในร่างกายของเรา 

โดยคำว่า “จักระ” มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง กงล้อ จักระเป็นศาสตร์จากประเทศอินเดียที่เกิดขึ้นนานนับพันปี ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำศาสตร์พลังงานจักระมาประยุกต์ใช้กับโยคะ ที่เรียกกันว่า “จักระโยคะ” โดยทั้งสองศาสตร์นี้สามารถนำมาเชื่อมโยงกันอย่างไร  Fit.Friend ได้หาคำตอบมาให้เพื่อนๆ แล้วค่ะ

จักระเชื่อมโยงกับศาสตร์ของโยคะอย่างไร?

นั่งสมาธิจักระ

โยคะ (YOGA) เป็นศาสตร์ที่มีฝึกร่างกายเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ พร้อมกับฝึกการหายใจและการทำสมาธิ  การสร้างความสมดุลของร่างกายและจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งจะมีสัมพันธ์คล้ายกับการหมุนของจักระเช่นกัน จึงได้นำมาเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกโยคะที่ช่วยปรับสมดุลในร่างกายในรูปแบบ “จักระสมาธิ”

จักระทั้ง 7 ในร่างกายจะอยู่ตามแนวกระดูกสันหลังกับกะโหลกศีรษะ ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์พบว่าตรงบริเวณที่เป็นจักระจะมีเส้นประสาทรวมตัวกันหนาแน่น และเป็นจุดที่ควบคุมการทำงานที่สำคัญของร่างกาย หากผู้ฝึกโยคะรู้จักจักระทั้ง 7 ตำแหน่ง จะช่วยทำให้การฝึกโยคะนี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความสมดุลของร่างกาย กระตุ้นอวัยวะและต่อมต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานดีขึ้น มีสมาธิ เชื่อมโยงไปถึงจิตใจและอารมณ์ความรู้สึกอีกด้วย 

จักระทั้ง 7 ในร่างกายเรามีอะไรบ้าง และมีวิธีปรับจักระในร่างกายอย่างไร

อย่างที่ได้บอกไปในข้างต้นว่าจักระในร่างกายเรามีทั้งหมด  7 ตำแหน่งด้วยกัน ไล่ตามแนวกระดูกสันหลังกับกะโหลกศีรษะ ทีนี้เราจะมาอธิบายว่าแต่ละตำแหน่งควบคุมในด้านใด ช่วยเรื่องอะไร และมีวิธีปรับจักระในร่างกายอย่างไรบ้างค่ะ

จักระทั้ง 7 ในร่างกายเรา

จักระที่ 1 มูลธาร (Mrauladha)

จักระมูลธารอยู่ตำแหน่งปลายสุดของกระดูกสันหลัง เป็นพื้นฐานของพลังชีวิต ที่ควบคุมเกี่ยวกับกลไกที่ทำให้เกิดการสืบพันธุ์ ด้านจิตใจควบคุมเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ ความเป็นธรรมชาติ

  • วิธีปรับจักระตำแหน่งนี้คือ  ท่ายืน Forward Bend ซึ่งเป็นท่าที่เสริมสร้างความแข็งแรง และความยืดหยุ่นให้กระดูกสันหลังได้เป็นอย่างดี จึงเป็นท่าที่ใช้ในการปรับสมดุลของจักระตำแหน่งนี้
Forward Bend Yoga

จักระที่ 2 สวาธิษฐาน (Svadhisthana)

จักระสวาธิษฐานอยู่ตำแหน่งเหนืออวัยวะเพศ ต่ำกว่าหน้าท้องประมาณสองนิ้ว เป็นศูนย์กลางเกี่ยวกับพลังงานทางเพศ ที่ควบคุมระบบการสืบพันธุ์และการขับถ่าย ด้านจิตใจควบคุมเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ แรงบันดาลใจ

  • วิธีปรับจักระตำแหน่งนี้คือ การฝึกด้วยท่านั่งต่างๆ เช่น Head to knee และท่า Twisting 
Head to knee Yoga

จักระที่ 3 มณีปุระ (Manipura)

จักระมณีปุระอยู่ตำแหน่งไขสันหลังบริเวณสะดือ ถือเป็นจุดศูนย์กลางของร่างกาย ควบคุมระบบการย่อยอาหารและการขับถ่ายของเสียของร่างกาย ด้านจิตใจควบคุมเกี่ยวกับความใจกว้างและศีลธรรม

  • วิธีปรับจักระตำแหน่งนี้คือ การฝึกด้วยท่าที่เกี่ยวกับการบิดลำตัว เช่น Sun Salutation และ Marichi Pose D ท่าเหล่านี้ช่วยปรับสมดุลในตำแหน่งนี้ซึ่งเป็นตำแหน่งศูนย์กลางลำตัว จะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหารแถมยังช่วยกระชับกล้ามเนื้อหน้าท้องอีกด้วย
Marichi Pose D Yoga

จักระที่ 4 อนาหตะ (Anahata)

จักระอนาหตะอยู่ตำแหน่งบริเวณแนวเดียวกับหัวใจ ควบคุมระบบหมุนเวียนเลือด การหายใจ และระดับไขมันในเส้นเลือด ด้านจิตใจควบคุมเกี่ยวกับความร่าเริง ความเมตตากรุณา และความเสียสละ

  • วิธีปรับจักระตำแหน่งนี้คือ การฝึกด้วยท่าที่เกี่ยวกับการยืดเหยียดแผ่นหลังและหน้าอก เช่น Upward Facing Dog และ Backbend ซึ่งท่าเหล่านี้จะช่วยให้ระบบทางเดินหายใจทำงานได้ดีขึ้น จึงเป็นท่าที่ปรับสมดุลจักระตำแหน่งนี้ได้เป็นอย่างดี
Upward Facing Dog Yoga

จักระที่ 5 วิสุทธิ (Vishuddhi)

จักระวิสุทธิอยู่ตำแหน่งบริเวณคอหอย ควบคุมระบบทางเดินหายใจและผิวหนัง ด้านจิตใจควบคุมเกี่ยวกับความอ่อนหวาน สุขุม ไม่ก้าวร้าว

  • วิธีปรับจักระตำแหน่งนี้คือ การฝึกในท่าที่เกี่ยวข้องกับคอบ่าไหล่ เช่น Reclining Angle / Bridge Pose และ Shoulder Stand จะช่วยกระตุ้นจักระนี้ได้เป็นอย่างดี
Bridge Pose Yoga

จักระที่ 6 อาชญะ (Ajna)  

จักระอาชญะอยู่ตำแหน่งตรงกลางหน้าผาก ควบคุมระบบประสาท สติปัญญา การมองเห็นและการได้ยิน ด้านจิตใจ ควบคุมเกี่ยวกับความนึกคิด ความเฉลียวฉลาด

  • วิธีปรับจักระตำแหน่งนี้คือ ฝึกด้วยท่า Headstand / Child’s Pose และ Lotus Position ท่าฝึกเหล่านี้ช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ลดความเครียด จึงช่วยปรับสมดุลตำแหน่งนี้ได้เป็นอย่างดี
Child's Pose Yoga

จักระที่ 7 สหัสราระ (Sahasrara)

จักระสหัสราระอยู่ตำแหน่งตรงกลางกระหม่อม ควบคุมสมองส่วนกลางระบบประสาททั้งหมดของร่างกาย เป็นศูนย์ควบคุมทุกจักระ ด้านจิตใจควบคุมเกี่ยวกับการตระหนักรู้ในตนเอง

  • วิธีปรับจักระตำแหน่งนี้คือ การฝึกด้วยท่า Corpse Pose หรือ Savasana เป็นการผ่อน คลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายและจิตใจ พร้อมกับการหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ ดึงความสนใจมาที่การหายใจคล้ายกับการนั่งสมาธิ ท่านี้จึงช่วยปรับสมดุลจักระตำแหน่งนี้ที่เป็นศูนย์ควบคุมทุกจักระได้เป็นอย่างดี
Savasana Yoga

อาการของการเปิดจักระเป็นอย่างไร

ร่างกายของเราเมื่อผ่านการใช้งานอย่างหนักในทุกๆ วัน โดยที่ไม่ได้รับการผ่อนคลายคลาย ย่อมทำให้เกิดสภาวะร่างกายที่เสียสมดุล อาจจะทำให้มีอาการเช่น ปวดคอ ปวดหลัง ปวดหัว หรือระบบต่างๆทำงานไม่เป็นปกติ แต่เมื่อเราหันมาใช้วิธี “จักระโยคะ” ซึ่งเป็นการผ่อนคลาย ยืดเหยียดร่างกายในส่วนต่างๆ พร้อมๆ กับการฝึกลมหายใจ

ซึ่งการฝึกเหล่านี้ช่วยทำให้เกิดอาการของจักระเปิด คือ จักระทั้ง 7 ตำแหน่งจะได้รับการกระตุ้นให้ทำงานดีขึ้น ถ้าอิงตามหลักวิทยาศาสตร์ คือ จักระทั้ง 7 ตำแหน่งจะอยู่ในตำแหน่งสำคัญที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ เป็นผลทำให้ร่างกายมีความสมดุลมากขึ้น ระบบต่างๆ  ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังช่วยผ่อนคลายจิตใจ ให้รู้สึกสงบขึ้นอีกด้วย

ส่วนในหลักของจักระศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของพลังชีวิตนั้นกล่าวว่า หากมีการฝึกเปิดจักระในระดับที่สูงขึ้นสามารถสั่งสมพลังงานจักระมากขึ้นจะทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่ากายทิพย์นั่นเอง ซึ่งการฝึกในศาสตร์นี้นั้น Fit.Friend ต้องขอบอกว่าเป็นความเชื่อส่วนบุคคลนะคะ

สรุป

การรู้จักระทั้ง 7 ในร่างกายเรา ถือเป็นศาสตร์ความรู้ที่ผู้ฝึกโยคะควรทราบ เนื่องจากทำให้เราได้รู้จักกับร่างกายของตัวเราเองมากยิ่งขึ้น รู้ว่าตำแหน่งไหนควบคุมด้านใด และควรปรับจักระในร่างกายหรือกระตุ้นในตำแหน่งนั้นๆอย่างไร เพื่อให้ฝึกโยคะในแต่ละท่วงท่าได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับการปรับสมดุลของร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานดีขึ้น มีสมาธิและคลายความเครียดได้อีกด้วยค่ะ

และสุดท้ายนี้หากอยากลองการฝึกโยคะ ฝึกลมหายใจคลายความเครียด พร้อมยืดเหยียด บรรเทาอาการตึงคอบ่าไหล่ Fit.Friend มีเทรนเนอร์ผู้เชียวชาญที่สามารถช่วยคุณได้ แถมยังสะดวกเพราะมีบริการเทรนเนอร์ Delivery ถึงบ้านอีกด้วย

หากสนใจสอบถามรายละเอียดเทรนเนอร์ส่วนตัวได้ที่ Add LINE : @fitfriend หรือ https://lin.ee/d9Mvonh

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *